Part 1 Part 2 Part 3 Part 3 Part 3 Part 3

>
<br>อาฬว หรือ อาฬวี นี้ได้ชื่อมาจากเหตุเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของชนชาติทยฺย   ที่ร่างกายโตใหญ่ จะสังเกตุได้จากชุดเกราะ ที่กษัตริย์ และนักรบชนชาติไทสวมใส่ พร้อมทั้งมีประเพณีกรีดเลือด นำมาผสมสุราดื่มสาบานกันเป็นพี่น้อง หรือรับรองคำมั่นสัญญาถือว่าเป็น “สัจจะ” ที่ต้องรักษา ดังปรากฏเป็นหลักฐานใน
ชาวอาฬวี จะมีร่างกายสูงใหญ่กว่าคนทั่วไป จึงถูกเรียกว่าพวก " ยักษ์ " (เพราะมีร่างกายกำยำ ล่ำสัน ใหญ่โต จึงมีคำพังเพยโบราณ ที่พูดกันติดปากว่า “ไทยเล็ก.. เจ๊กดำ..ไม่มี” ความหมาย คือ คนไทยต้องตัวโตสูงใหญ่ที่ เรียกว่า คนแปดศอกนั่นแหละ) กฎหมายที่ใช้ในการลงโทษ หรือสังหารศัตรูด้วยการตัดคอให้เลือดขึ้นฟ้าเพื่อบูชาพญาแถน (ยังใช้ต่อเนื่องมาจนสมัยรัตนโกสินทร์ เลิกเมื่อปี ๒๔๗๕) ด้วยความที่มีร่างกายใหญ่โต และเป็นนักรบเก่งกล้า เหี้ยมหาญของชาวอาฬวี จึงเป็นที่หวาดกลัวของอริราชศัตรู ประชาชน และอาณาจักรทั้งหลาย ในกาลต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น น่านเจ้า และ ยูนาน ชนไทนี้เรียกตนเองว่า "ไทปา" ตั้งแว่นแคว้นตัวเองเรียกว่า "แคว้นปาไท"(ปัจจุบันเรียกว่า ปาทาน) มีอาณาเขตครอบคลุมทะเลทรายโกลาโกลัม มาจนจรดดินแดนแคชเมีย


.... อาฬวี มีเพชรพลอยหินมีค่า และทองคำ อันใช้เป็นเครื่องประดับ ชนอาฬวีใช้ทองคำเป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า และการซื้อขาย ทั้งเพชรพลอย ทองคำ และหินมีค่ามีมากมายเกลื่อนไปในธารน้ำและภูเขา ประชาชนอาฬวีจึงนำมาใช้ประดับกันโดยทั่วไป (ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ยืนยันว่า ก่อนพุทธกาล ๑,๕๐๐ปี ชาว อ้ายลาว มีการทำเหมืองทองคำ และผลิตเป็นเครื่องประดับ ส่งขายไปยังแถบประเทศลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟติส)


ในเอกสารพระไตรปิฏก มีพระบาลี กล่าวถึงอาณาจักรอาฬวี ไว้ว่า

"... อลํ วิภูสนเมตฺถาติ = อาฬวี, ชื่อว่า อาฬวี เพราะมีเครื่องประดับมาก

คนในอาณาจักรอาฬวีเป็นชนชาติทยฺย เรียกตนเองว่า ชาว " อลํ ( อ่านว่า อะ ลัง) อันเป็นคำย่อของภาษาทยฺย ว่า " อ้ายลาว" เมื่อเขียนตามหลักบาลีไวยากรณ์ คำว่า " อลํ " จะแปลง ล (ล.ลิง) เป็น ฬ ( ฬ.จุฬา) แล้ว ทีฆะ(ทำเสียงให้ยาว) จาก สระอะ เป็น สระอา จึงสำเร็จเป็นคำว่า อาฬ..(อาละ..หรือ อ้ายลาว) คำว่า วี แปลว่า แคว้น รวมสำเร็จเป็นคำว่า " อาฬวี " (ภายหลังพุทธกาลเปลี่ยนเป็น เชียงรุ้ง ...เชียง แปลว่า เมือง คำว่า รุ้ง เป็นความหมายของแสงประกายแห่งอัญญมณี, ทองคำ, และ ความเจริญรุ่งเรือง)

จักรอาฬวีนอกจากจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ทองคำและอัญมณีแล้ว ยังมีป่าสมุน- ไพร อันหายากยิ่งและราคาแพง คือ " อบเชยสีทอง" ดังนั้น พ่อค้าวาณิชที่ทำการค้ากับอาณาจักอาฬวีหรืออ้ายลาว จึงพร้อมกันขนานนามอาณาจักรนี้ว่า กิมหลิน (กิม แปลว่า ทอง หลิน แปลว่า อบเชย ) ปรากฏอยู่ในบันทึกภาษาจีน พ.ศ.๖๐๘


<br>ในพระไตรปิฏกพุทธ ส่วนพระวินัย ได้กล่าวถึงความสำคัญแห่งอาณาจักรอาฬวี ในพระบาลีกล่าวถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จไปปราบ
..... เนื่องจากการก่อสร้างของชนชาติทยฺย ปราสาท วัด วิหาร นิยมทำเป็นหอสูงสองชั้นโดยสร้างจากไม้ ) ลักษณะหอสูง หรือเรียกว่า ปราสาท ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันเช่นเนปาล ภูฐาน บังคลาเทศ (เดิมเรียกว่า แคว้นอัสสัม หรือไทอัสสัม) ในส่วนที่เห็นชัดไปอีกก็คือวัดพม่า ซึ่งนักประวัติศาสตร์อังกฤษ (ที่เพิ่งจะรู้จักพม่าตอนล่าเมืองขึ้น เขียนเป็นตุเป็นตะว่าศิลปะพม่า นักโบราณคดีไทยก็เชื่อตามนั้น ...)

ที่จริงแล้ว เรียกว่า “ศิลปะอาฬวี” เรียกให้ทันสมัยลงมาหน่อยก็คือ “ศิลปเชียงรุ้ง”แล้วพัฒนาเป็นศิลปล้านนา นักโบราณคดีไทยใจฝรั่ง ก็ไปเขียนตำรามาหลอกคนไทยด้วยกันว่า ที่ล้านนาใช้ศิลปะ เช่น "ซุ้มโขง" น่ะ เพราะไทยเป็นเมืองขึ้นพม่า มอญ ซึ่งไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า ศิลปะ ดัง กล่าวนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นในกรุงหงสาวดี หลังจากที่กษัตริย์มอญได้ยึดกรุงศรี ฯ ครั้งที่ ๑ (ไทยเสียกรุงให้กับมอญ ไม่ใช่พม่า เพราะบุเรงนองเป็นมอญ เดิมชื่อจะเด็ด มอญ มีเมืองหลวงชื่อ หงสาวดี ส่วนพม่ามีเมืองหลวงชื่อ กรุงอังวะ พม่าขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นมอญ) บุเรงนองได้กวาดต้อนช่างฝีมือชาวไทย นักรบชายไททั้งหมด ไปหงสาวดีไม่เหลือไว้เลย (โปรดศึกษาประวัติศาสตร์เสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ ๑) ศิลปะการก่อสร้างดังกล่าว พม่าเองยังยอมรับว่าเป็นศิลปของไทย โดยเรียกว่า "ศิลปโยเดีย (โยเดีย = อยุธยา)"



:CR ::: คณะผู้รวบรวม/เรียบเรียง/บรรยาย/อุปถัมภ์ และจัดสร้างสรรพสาระประวัติศาสตร์ไท เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาสำหรับอนุชนรุ่นหลัง ให้บังเกิดความความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และ บรรพบุรุษไท ขอได้รับการขอบคุณยิ่งมา ณ ที่นี้

.