คัมภีร์มิลินทปัญหา ฉบับพิสดาร ของหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตามที่ได้มีการนำสืบๆมา พระเจ้าเมนันเดอร์ยึดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีบรรยายในมิลินทปัญหา ซึ่งเป็นวรรณกรรมพุทธบาลีคลาสสิก (ข้อความภาษาสันสฤตฉบับเดิมสูญหายแล้ว) การสนทนาระหว่างพระเจ้าเมนันเดอร์กับพระนาคเสนนักบวชพุทธ พระองค์ถูกบรรยายตลอดว่าอยู่พร้อมกับทหารองครักษ์ 500 คน และอำมาตย์ที่ปรึกษาของพระองค์ชื่อ เดเมตริอัส กับ อันทิคัส (Demetrius and Antiochus) ในมิลินทปัญหา พระองค์ถูกบรรยายประวัติว่า

กษัตริย์แห่งเมืองสาคละในชมพูทวีปพระนามว่ามิลินท์เป็นผู้คงแก่เรียนมีไหวพริบปฏิภาณฉลาดสามารถและเป็นผู้สังเกตการณ์ที่มีศรัทธาและในเวลาที่สมควร การกระทำความจงรักภักดีและพิธีกรรมต่างๆทั้งหมดสั่งการโดยพระองค์เองด้วยบทสวดอันศักดิ์ที่เป็นเรื่องเกียวกับอดีตปัจจุบันและอนาคต เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ถึง 18 ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น 19 กับทั้งพุทธศาสตร์
ศิลปศาสตร์ 18 ประการคือ
1 รู้จักภาษาสัตว์มีเสียงนกร้อง เป็นต้นว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น
2 รู้จักกำเนิดเขาและไม้ เป็นต้นว่าชื่อนั้นๆ
3 คัมภีร์เลข
4 คัมภีร์ช่าง
5 คัมภีร์นิติศาสตร์ รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง
6 คัมภีร์พาณิชยศาสตร์ รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล
7 พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์ รู้ตาราดวงดาว
8 คัมธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี
9 เวชชศาสตร์ รู้คัมภีร์แพทย์
10 ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู
11 ประวัติศาสตร์
12 ดาราศาสตร์ รู้วิธีทำนายดวงชะตาของคน
13 มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้ว นี่มิใช่แก้ว เป็นต้น
14 เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์ รู้จักเหตุ รู้จักผลจะบังเกิด
15 ภูมิศาสตร์ รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือ รู้การที่จะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล
16 ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม
17 ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร
18 ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลง

พระเจ้ามิลินท์นั้น มีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก และเป็นบุคคลผู้เอาชนะได้ยาก เป็นผู้ยอดเยี่ยมที่ได้รับการยอมรับจากเจ้าสำนักนักคิดนักปรัชญาต่างๆทั้งหมด และเป็นผู้มีกำลังแห่งปัญญา มีกำลังกาย มีเชาวน์อันเร็ว และไม่มีคู่โต้วาทีที่สมน้ำสมเนื้อกับพระเจ้ามิลินท์ในชมพูทวีป ทั้งพระองค์ยังเป็นผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีทรัพย์สมบัติและความรุ่งเรื่องมาก และจำนวนทหารของพระองค์นับไม่ถ้วน
ข้อความที่นำสืบมาของศาสนพุทธบอกเล่าว่า การสนทนาของพระองค์ถูกบันทึกไว้เป็นคัมภีร์ดังนี้

คำนำ ประณามคาถา ปุพพปโยคกถา
ปฐมวรรคปัญหามีดังนี้ วัญจนฯ นามฯ วัสสฯ เถรัสสติกขปฎิฯ อันตกายฯ ปัพพชาฯ ปฎิสนธิคหณฯ มนสิการฯ มนสิการลักขณฯ สีลปติฎฐานลักขณฯ สัทธาลักขณฯ วิริยลักขณฯ สติลักขณฯ สมาธิลักขณฯ ปัญญาลักขณฯ นานาเอกกิจจกรณฯ

ทุติยวรรคปัญหามีดังนี้ ธรรมสันตติฯ นัปปฎิสันธิคหณฯ ปัญญานิรุชฌนฯ ปรินิพพานฯ สุขเวทนาฯ นามรูปปฎสันธิคหณฯ ปุนปฎิสันธิคหณฯ นามรูปฯ ทีฆมัทธานฯ

ตติยวรรคปัญหามีดังนี้ อัทธานฯ ปุริมโกฎิฯ โกฎิยาปุริมฯ สังขารชายนฯ ภวันตานังสังขารานังชานนฯ เวทคูฯ จักขุวิญญาณมโนวิญญาณฯ ผัสสลักขณฯ เวทนาลักขณฯ สัญญาลักขณฯ เจตนาลักขณฯ วิญญาณลักขณฯ วิตักกลักขณฯ วิจารลักขณฯ

จตุตถวรรคปัญหามีดังนี้ มนสิการลักขณฯ เอกโตภาวคตฯ ปัญจายตนกัมมนิพพัตตฯ กัมมนากรณฯ ปฎิกัจเจววายามกรณฯ ปฐวีสันธารกฯ นิโรธนิพพานฯ นิพพานลภนฯ นิพพานสุภาวชานนฯ

ปัญจมวรรคปัญหามีดังนี้ พุทธอัตถินัตถิภาวฯ พุทธานุตตรภาวฯ พุทโธอนุตตรภาวชานนฯ ธัมมทิฎฐฯ นจสังกมติปฏิสันธหนฯ เวทคูฯ อิมัมหากายาอัญญังกายังสังกมนฯ กัมมผลอัตถิภาวฯ อุปปัชชนชานนฯ พุทธทัสสนฯ

ฉัฎฐวรรคปัญหามีดังนี้ กายอัปปิยฯ สัมปัตตกาลฯ ทวัตติงสมหาปุริสลักขณฯ พรหมจารีฯ อุปสัมปันนฯ อัสสุฯ รสปฏิสังเวทีฯ ปัญญายปติฎฐานฯ สังสารฯ จิรกตสรณฯ สติอภิชานันติฯ

สัตตมวรรคปัญหามีดังนี้ สติอาการฯ วัสสสตฯ อนาคตฯ ทูรพรหมโลกฯ พรหมโลกกัสมิรฯ ปรโลกคตนีลปีตาทิวัณณคตฯ มาตุกุจฉิปฏิสันธิฯ สัตตโพชฌงคฯ ปาปปุญยพหุตรฯ ชานอชานฯ อุตตรกุรุฯ ทีฆอัฏฐิกฯ อัสสาสปัสสาสฯ สมุททฯ สุขุมัจเฉทนฯ ปัญญาวิเสสฯ วิญญาทีนังนานัตถภาวฯ อรุปววัตถภาวทุกกรฯ ทุกกรฯ โคตมีวัตถทานฯ ปรารภเมณฑกฯ

ปฐมวรรคปัญหามีดังนี้ วัชฌาวัชฌฯ สัพพัญญูภาวฯ เทวทัตตปัพพชิตฯ มหาภูมิจลนปาตุภาวฯ สีวิรัญโญจักขุทานฯ คัพภาวักกันติฯ สัทธัมมอันตรธานฯ สัพพัญญุตังปัตตฯ ตถาคตัสสอุตตริกรณียาภาวฯ อิทธิปาทพลทัสสนฯ

ทุติยวรรคปัญหามีดังนี้ ขุททานุขุททกฯ ฐปนียพยากรณฯ สัตตานังมัจจุโนภายนฯ มัจจุปาสามุตติกฯ ภควโตลาภันตรายฯ สัพพสัตตานังหิตจรณฯ เสฎฐธัมมฯ ตถาคตัสสอเภชชปริสฯ อชานันตัสสปาปกรณอปุญญฯ ภควโตภิกขุคณอเปกขภาวฯ

ตติยวรรคปัญหามีดังนี้ วัตถุคุยหทัสสนฯ ตถาคตัสสผรุสวาจานัตถีติฯ รุกขานังเจตนาเจตนฯ ทวินนังปิณฑปาตานังมหัปผลภาวฯ พุทธปูชานุญญาตานุญญาตฯ ภควโตปาทปัปปฎิกปติตฯ คาถาภิคีตโภชนาทานกถายกถนฯ ภควโตธัมมเทสนายอัปโปสุกตภาวฯ พุทธัสสอาจริยานาจริยฯ อัคคาอัคคสมณฯ

จตุตถวรรคปัญหามีดังนี้ วัณณภณนฯ อหิงสานิคคหฯ ภิกขุปณามนฯ พุทธสัพพัญญูสยปณามฯ คีหิปัพพชิตปฏิปันนวัณณฯ อนิเกตานาลยกรณฯ อุติฎฐอุทรฯ ธัมมวินยปฏิจฉนฯ มุสาวาทครุลหุภาวฯ ยาจโยคฯ

ปัญจมวรรคปัญหามีดังนี้ อิทธิยากัมมวิปากฯ โพธิสัตตัสสะ ธัมมตาฯ อัตตนิปาตนฯ เมตตานิสังสฯ กุสลากุสลการิสส สมาสมฯ อมราเทวีฯ ขีณาสวานังอภายนฯ สันถวฯ ภควโตอัปปาพาธฯ อนุปปันนมัคคัสส อุปปาทฯ

ฉัฎฐวรรคปัญหามีดังนี้ ปฏิปทาโทสฯ นิปปปัญจฯ คิหิอรหัตตฯ โลมกัสสปฯ ฉัททันตโชติปาลอารัพภฯ ฆฎิการฯ ภควโตราชฯ ทวินนังพุทธานังโลเกอุปปัชชนฯ คีหิปัพพชิตสัมมาปฏิปัตติฯ หีนายาวัตตนฯ

สัตตมวรรคปัญหามีดังนี้ อรหโต กายิกเจตสิกเวทนาฯ กายิกเจตสิกเวทนาย นานากรณฯ อภิสมยันตรายกราฯ สมณทุสสีลคีหิทุสสีลฯ อุทกัสสะ สัตตชีวฯ คีหิปัพพชิตานัง ขีณาสวฯ โลเกนัตถิภาวฯ อรหันตัสสโมหฯ นิพพานัสส อัตถิภาวนาฯ กัมมัชชากัมมัชชฯ

อัฎฐมวรรคปัญหามีดังนี้ ยักขานัง มรณภาวฯ สิกขาปทอปัญญาปนฯ สุริยโรคภาวฯ สุริยตัปปภาวฯ เวสสันตรฯ ทุกกรการิกฯ กุสลากุสลานัง พลวาพลวฯ เปตานัง อุททิสสผลฯ สุปินฯ

นวมวรรคปัญหามีดังนี้ กาลากาลมรณฯ ปรินิพพุตานัง เจติเย ปาฎิหารฯ เอกัจจาเนกัจจานัง ธัมมาภิสมยฯ นิพพานัสส อทุกขมิสสภาวฯ นิพพานฯ นิพพานสัจฉิกรณฯ นิพพานัสส ปัฏฐานฯ อนุมานฯ ธุตังคฯ

อุปมากถาปัญหามีดังนี้ โฆรสรวรรค ลาวุลตาวรรค จักกวัตติวรรค กุญชรวรรค สีหวรรค มักกฎกวรรค กุมภวรรค บทมาติกา อปรภาคกถา

การสนทนาของพระองค์ตามที่กล่าวมานั้นกับพระนาคเสน พระยามิลินท์ก็เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ขอให้พระคุณเจ้านาคเสนยอมรับเราว่าเป็นพุทธมามกะและเป็นผู้เปลี่ยนแปลงจริงๆนับแต่วันนี้เป็นต้นไปตลอดชั่วชีวิต จากนั้นพระองค์ก็ส่งมอบอาณาจักรของพระองค์ให้กับพระโอรสและปลีกพระองค์ออกจากโลกียวาส และหลังจากนั้น พระองค์ก็พอพระทัยในปัญญาของผู้อาวุโส พระองค์ส่งมอบอาณาจักรให้แก่พระโอรสของพระองค์ และสละการใช้ชีวิตในพระราชวังเพื่ออยู่แบบไม่มีเรือน เจริญก้าวหน้าในโพธิธรรม และพระองค์เองได้บรรลุพระอรหันต์

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากพินัยกรรมที่บงชี้ว่าพระองค์สละราชบัลลังก์เพื่อพระโอรสของพระองค์ตามความพอพระทัยแล้ว ยังมีหลักฐานบนเหรียญที่เซอร์ วิลเลี่ยม ตาร์น (Sir William Tarn) เชื่อว่า พระองค์สวรรคตจริงทิ้งให้พระอัครมเหสีของพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการ จนกระทั่งพระโอรสของพระองค์ สตราโบ สามารถที่จะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้อง

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *