:: EP 1::..
:: เหลียงซาน กำเนิดขบวนการประชาธิปไตย ::
สมัยปลายราชวงศ์ซ่งเหนือ พระเจ้าซ่งฮุ่ยจงทรงครองราชสมบัติ ณ นครหลวงตงจิง ขุนนางกังฉินต่างๆนานาครองเมือง ขูดรีดราษฎร ปิดบังพระเนตรพระกรรณ ในบรรดาขุนนางกังฉินเหล่านี้ เกาฉิว คือ กังฉินที่มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชนธรรมดา เมื่อวัยฉกรรจ์จับกลุ่มกับเหล่าเพื่อนฝูงตั้งก๊วนอันธพาล รังแกชาวบ้านและผู้พเนจรจากต่างบ้านต่างเมือง ต่อมาไปรังแกชาวบ้านให้ หวางจิ้น ครูฝึกทหารในกระทรวง กลาโหมเห็นเข้า เกาฉิวกับพวกจึงถูกหวางจิ้นอัดไม่เหลือชิ้นดี เกาฉิวผูกใจเจ็บหวางจิ้นและหาทางเป็นขุนนาง ที่มียศสูงกว่าหวางจิ้นเพื่อแก้แค้นให้จงได้
และแล้ววันหนึ่งโชคก็เข้าข้างเกาฉิวคนถ่อย เมื่อฝีมือการเล่นฉูจู้(ฟุตบอลโบราณของจีน) ถูกตาต้องใจอ๋องต้วน เชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เข้า ทำให้เกาฉิวได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในวังของอ๋องต้วน ฝึกซ้อมท่านอ๋องให้มีฝีมือการเล่นฉูจู้ที่ดีขึ้น จนในที่สุดท่านอ๋องต้วนก็มีฎีกาขอให้พระเจ้าซ่งฮุ่ยจงทรงแต่งตั้งเกาฉิวเป็นขุนนาง และเกาฉิวก็ได้เป็นถึงสมุหกลาโหม จากนั้นเกาฉิวก็ใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบแก้แค้นหวางจิ้นครูฝึกทหารจนหวางจิ้นต้องหนีไปอยู่ที่อื่น และเขาก็เข้าร่วมกับกลุ่มสี่กังฉินมหาอำนาจ อันได้แก่เกาฉิว ไช่จิง ถงกว้าน หยางเจี่ยน ก่อความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า และนี่คือเหตุการณ์อันก่อให้เกิด ขบวนการประชาธิปไตยครั้งแรกในโลก ที่ก่อตั้งโดยผู้กล้าเขาเหลียงซาน กลุ่มชาวนาสามัญชนไทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
........................... เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ชนชาติไทยุคบรรพกาลที่บันทึกจากเหตุการณ์ ช่วงปลายราชวงศ์ต้าซ่ง(ไทสูง)บางแห่งเขียนเป็น "เป่ยซ่ง"แปลว่า "ไทสูงภาคตะวันออก" เอกสารประวัติศาสตร์นี้ ได้บันทึกขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 900 (ชื่ออังกฤษ: Water Margin, Outlaws of the Marsh, All Men Are Brothers (ชื่อจีน: ซ้องกั๋ง หรือ สุยหู่จ้วน)
เรื่องราวกล่าวถึง "ผู้กล้า 108 คนที่รวมตัวกันปกป้องบ้านเมือง" แต่เดิมเป็นเรื่องสั่งสอนสืบกันมาตลอด ต่อมาศิลปินพื้นบ้านนำเรื่องเล่านี้มาผูกเป็นเพลงงิ้ว เรื่องสุยหู่จ้วนมีการประพันธ์ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า "ซือไน่อัน"
และต่อมา"หลอกว้านจง" ผู้เรียบเรียงบันทึกเหตุการณ์สงครามรวมชนชาติไทย "ยุทธการน่านเจ้า (สามก๊ก) ได้เรียบเรียงเนื้อหาใหม่ ใช้ชื่อว่า สุยหู่จ้วน ในภาษาจีนอันมีความหมายว่า "ลำนำริมฝั่งน้ำ(Water Margin)" หมายถึงสถานที่ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวหรือฐานทัพของผู้กล้าทั้งร้อยแปดคน คือ ริมทะเลสาบเหลียงซานป๋อ ซึ่งเป็นฉบับที่นักประวัติศาสตร์ทั่วโลกนำไปศึกษา ปรับปรุง แปรเปลี่ยนเป็นเวรรกรรมชื่ออื่น เพื่อใช้ในการสร้างเสริมจิตวิญญาณรักชาติ ของแต่ละยุค แต่ละประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบัน
คุณค่าของนิยายเรื่อง “ซ้องกั๋ง” ในการสร้างความคิด จิตวิญญาณ ของผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ฉบับนี้ "เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชนชาติไท" และยกย่องเทิดทูนวีรกรรมของผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน
จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในระดับสากล อีกทั้งยังได้รับการประเมินว่าเป็นวรรณกรรมเอกของโลก ด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์ที่เป็นวรรณกรรมของมวลชน เหมาะสำหรับผู้คนทุกรุ่นทุกวัย ตลอดมาทุกยุสมัย
รัฐบาลสาธารรัฐประชาชนจีน ได้เห็นความสำคัญในปลุกสำนึก จิตวิญญาณ ความรักชาติ ของประชาชนให้รวมเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจีนจึงได้กำหนดให้นักเรียนมัธยมต้องอ่านนิยายเรื่องนี้เพราะนิยายเรื่องนี้มีความผูกพันระหว่างบุคคล ซึ่ง
มีเนื้อหาลึกซึ้งที่ส่งผลสะเทือนต่อจิตใจของมนุษย์ เด็กๆ จะชอบเพราะอ่านแล้วเข้าใจง่ายสนุกสนานน่าติดตาม เป็นเรื่องของตัวเด่น 108 คนที่มีที่มาที่ไปต่างกัน แต่มีเหตุให้ต้องมารวมตัวกันที่ป่าแห่งหนึ่ง เพื่อต่อสู้กับทางราชสำนัก
เมื่ออ่านจบจะทำให้เด็กๆ อยากเป็นวีรบุรุษอย่างตัวเอกในเรื่อง หนังสือเล่มนี้สอนให้คนรู้จักต่อสู้เพื่อทวงสิทธิประโยชน์ของตน บทบาทที่สำคัญที่เร้าใจที่สุดคือ "การตอบคำถามที่ว่า
เราจะให้ผู้อื่นข่มเหงรังแกเราอย่างไม่มีเหตุผลต่อไปหรือไม่ ?" หัวใจของเรื่องก็คือ "การกล้าสู้ กล้าแสดงออกในความคิดเห็น กล้าต่อต้าน กล้าเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่อยุติธรรมทุกรูปแบบ"
“ซ้องกั๋ง” เป็นเรื่องราวของ "ชนชาติไทหาญ(ต้าฮั่น)" ที่จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับข้าราชการ ขุนนางกังฉินในราชวงศ์ซ้องเหนือ ( ไทสูง ค.ศ.960-1127) เพื่อป้องกันตัว เพื่อความอยู่รอด ถ้าพวกเขาไม่สู้ พวกเขาก็จะไม่มีอนาคต ไม่มีชีวิตรอด อันเป็นที่มาของคำว่า "จะอยู่อย่างไท หรือ จะตายอย่างทาส"
วีรบุรุษที่เป็นที่รู้จักกันดีใน “ซ้องกั๋ง” มีอยู่ด้วยกันหลายคน หนึ่งในวีรบุรุษอันเป็นที่ประทับใจผู้คนนั้นที่มีนามว่า “หลินชง” หลินชงเป็นครูฝึกทหารที่ถือว่ามีตำแหน่งไม่เล็กนัก แต่เขาก็ยังถูกขุนนางใหญ่ที่เป็นคนโปรดปรานของกษัตริย์รังแก จนถึงขนาดจะฆ่าล้างครอบครัว
ในตอนแรกหลิงชงได้แต่ก้มหน้ายอมรับโทษทัณฑ์ต่างๆ ตามที่ตนพลาดท่าเสียทีจนถูกใส่ความ
แต่ท้ายที่สุดเมื่อเขาถูกข่มเหงจากข้าราชการฝ่ายรัฐใส่ความและจับไปขังทรมาณในคุก ทำให้เขาทนไม่ได้จึงฆ่าผู้คุม และเดินทางไปร่วมกับผู้กล้าทั้งหลายที่รวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลที่เขาเหลียงซาน พร้อมด้วยวีรชน “บู๊สง ผู้ฆ่าเสือด้วยมือเปล่า” เป็นต้น
จุดมุ่งหมายสูงสุดของ"หลอกว้านจง" ผู้บันทึกประวัติศาสตร์ "วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน" นี่ไว้ก็คือ ต้องการปลุกจิตสำนึกชนชาติไททุกคน ให้เป็นคนกล้า กล้าที่จะแสดงออก กล้าสู้ กล้าที่จะยืนอยู่ในจุดยืนที่ถูกต้อง
เป็นตัวตั้งตัวตี เป็นกำลังสำคัญของชุมชน มีคำพูดกล่าวไว้ว่า “คนดีมีมากแต่คนกล้ามีน้อย”หวังว่าคำพูดนี้จะไม่เป็นความจริง เพราะเราจะช่วยกันเพิ่มคนดีและคนกล้าในสังคมของเราให้มากยิ่งๆ ขึ้น
หลักฐานสำคัญปรากฏในจารึก "ซ้องกั๋ง" ว่า...มีการคัดสรรผู้ที่เข้าร่วมขบวนการกู้ชาติ และหลังจากนั้นจะสักเครื่องหมายสำคัญด้วยหมึกดำ เพื่อให้เป็นที่ปรากฏยืนยันว่าเป็น "ผู้กล้าเหลียงซาน คือ "รอยสักหมึกรูปมังกร" และ การสักหมึกกนั้นมีเฉพาะวัฒนธรรมไทเท่านั้น ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพกาล คือ "การสักหมึกดำ" อันเป็นที่มาของภาษาสันสกฤษว่า "ศาม หรือ สามะ" แปลว่า "สักดำ" ซึ่งบางคนสักดำทั้งตัวจรดคอ
จากบันทึกประวัติศาสตร์ทุกฉบับล้วนตรงกันว่า...ผู้กล้าเหลียงซานทุกคนสักหมึกดำ อันเป็นเครื่องหมาย จึงสามารถเป็นหลักฐานพิสูจน์ทราบบ่งชี้ อย่างปราศจากข้อสงสัย ว่าผู้กล้าเหล่านี้คือ " ชนชาติไท " เพราะไม่มีชนชาติใดในยุคนี้ หรือ ก่อนหน้าจะสักหมึกดำที่ร่างกาย เป็นเครื่องหมายโดยสิ้นเชิง เพราะประเพณีวัฒนธรรม "การสักหมึก เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติไท" มาแต่บรรพกาลนั่นเอง...